การตรวจสอบยีนที่สร้างสารพิษ เอนเทอโรท็อกซินใน MRSA และ MSSA ในน้ำนมดิบโดยเทคนิคปฎิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส ในจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดนครราชสีมา; ชนิตนันท์ ศรีหวาด,ญาดา สิงห์พันธ์ และสุมิตตรา พาขุนทด, คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2560
บทคัดย่อ
การตรวจสอบยีนกลุ่ม เอนเทอโรท็อกซิน ใน MRSA และ MSSA โดยใช้เทคนิค PCR ผลปรากฎว่าพบตัวอย่างที่มียินในกลุ่ม เอนเทอโรท็อกซิน โดยการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาย้อนกลับ (Case-control study) เพื่อดูปัจจัยในการใช้ยาปฎิชีวนะของในฟาร์มที่ตรวจพบ MRSA และ MSSA โดยใช้การคำนวณทางสถิติแบบ Chi-square สำรวจพฤติกรรมการใช้ยาปฎิชีวนะของเกษตรกรในฟาร์มโคนมจากการสัมภาษณ์ 25 ฟาร์ม โดยพบ MRSA 2 ไอโซเลต (ให้ผลบวกต่อยีน mecA) และ MSSA 23 ไอโซเลต (ให้ผลลบต่อยีน mecA)
ผลการศึกษาพบว่า การใช้ยาปฎิชีวนะในฟาร์มที่ทำการสำรวจมีลักษณะการใช้ยาในรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งพบว่าการใช้ยาปฎิชีวนะของกลุ่ม MRSA และ MSSA ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) โดยแนวโน้มในการพบ MRSA พบในกลุ่มส่วนใหญ่ของการสำรวจปัจจัยในการใช้ยาปฎิชีวนะ การบริหารยา ปริมาณการใช้ยา การทดสอบเต้านมอักเสบในฟาร์ม ซึ่งมีการใช้ยาปฎิชีวนะในรูปแบบการสอดเต้า ยานวดเต้า และยาฉีด โดยทุกฟาร์มใช้ cloxacillin และ ampicillin ในลักษณะยาสอดเต้า ในรูปแบบยาฉีดใช้ oxytetracycline ร้อยละ 80 penicillin ร้อยละ 20 ส่วนวิธีในการบริหารยาส่วนใหญ่ใช้การฉีดร่วมกับการสอดเต้าและการนวดเต้า ร้อยละ 84 ปริมาณยาที่ใช้ในแต่ละฟาร์มจะแตกต่างกันส่วนใหญ่ใช้ 20 มิลลิลิตรต่อโคหนึ่งตัว การทดสอบเต้านมอักเสบพบว่ามีการใช้ California Mastitis Test (CMT) ร้อยละ 88 การใช้น้ำยาล้างจาน (Dishwashing liquids) ร้อยละ 8 และไม่มีการทดสอบเต้านมอักเสบ ร้อยละ 4 ซึ่งพบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ดั้งนั้น จากการสำรวจการใช้ยาปฎิชีวนะของเกษตรกร พบว่า รูปแบบยาการบริหารยา ปริมาณยาที่ใช้ การทดสอบเต้าอักเสบ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติต่อการตรวจพบการดื้อยาของเชื้อ ซึ่งคาดว่ามีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องในการพบยีนดื้อยาจากการศึกษาครั้งนี้ และในฟาร์มที่ทำการสำรวจคาดว่าน่าจะมีปัจจัยเสี่ยงในการพบยีนดื้อยา เนื่องจากมีแนวโน้มในการใช้ยาที่คล้ายคลึงกัน
คำสำคัญ: เต้านมอักเสบ, การดื้อยาปฎิชีวนะ, Staphylococcus aureus, MRSA
|